วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

วิธีการเลี้ยงกระต่าย

อาหารมีความส่าคัญต่อการเลี้ยงกระต่ายอย่างยิ่งเพราะต้นทุนในการเลี้ยงกระะต่าย มากกว่าครึ่งหนึ่งใช้เป็นค่าอาหาร การที่จะเลี้ยงกระต่ายให้เติบโตเร็ว มีสุขภาพดีและให้ ผลผลิตสูงจำเป็นจะต้องเลี้ยงด้วยอาหารที่เหมาะสม และมีปริมาณเพียงพอกับความ ต้องการของกระต่าย
อาหารที่ใช้เลี้ยงกระต่ายแบ่งได้เป็น 3 ประเภทดังนี้
1. อาหารหยาบ (Roughage)
หมายถึงอาหารที่มีโภชนะย่อยได้ต่ำ มีเยี่อใยสูง ซึ่งหมายถึงอาหารที่กินเข้าไป และเหลือกากขับถ่ายออกมาเป็นของเสียมาก ส่วนใหญ่ได้มาจากลำต้น และใบของพืช ตระกูลหญ้า และพืชตระกูลถั่ว เช่น หญ้าเนเปียร์ หญ้าขน หญ้ากินนี กระถิน ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ถั่วชีราโต ถั่วไกลซีน ถั่วเทาสวิลสไลโล เป็นต้น หรืออาจจะใช้ต้น พืชผักชนิดต่างๆ เช่น ผักบุ้ง ผักโขม ผักกาด คะน้า กะหล่ำปลี แครอท ผักกาดหอม หัวผักกาด มันเทศ มันแกว ฯลฯ เลี้ยงกระต่ายก็ได้
อาหารหยาบประเภทใบพืช ผัก หญ้า ควรให้กินเต็มที่ กระต่ายชอบหญ้าสด ผักสด มากกว่าตากแห้ง แต่หญ้าแห้งก็อาจใช้ได้ แต่ควรเป็นหญ้าที่อยู่ในระยะยังอ่อน ตากแห้งสะอาดไม่มีรา ไม่สกปรก ไม่มียาฆ่าแมลง ดวรหั่นเป็นท่อน ๆให้ยาวพอควร
2. อาหารข้น (Concentrate)
แม้ว่ากระต่ายจะสามารถยังชีพและขยายพันธุ์ตามปกติธรรมชาติ โดยอาศัย อาหารประเภทต้นหญ้า ใบพืชได้ก็ตาม แต่หากเราต้องการให้มันเจริญเติบโต ให้ผลิตผลเร็ว ให้เนื้อมาก ให้ขยายพันธุ์มีลูกดก ได้ลูกปีละหลายตัว เราจะต้องเลี้ยงดูให้ดี โดยมีอาหารข้น (Concentrates) เพิ่มเสริมให้ด้วย อาหารขันนี้เป็นอาหารที่มีโภชนะย่อยได้สูง มีเยื่อใยต่ำ ย่อยง่าย ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มคือ
2.1 อาหารที่เป็นแหล่งพลังงาน คืออาหารที่มีแป้ง และน้ำตาล (คาร์ไบ ไฮเดรต) หรือไขมันสูง ได้แก่ รำ ปลายข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง มันเสน และไขมัน จากพืชหรือสัตว์
2.2 อาหารที่เป็นแหล่งโปรตีน ได้แก่ นมผง ปลาป่น กากถั่วเหลือง กากถั่วลิสง และใบกระถินป่น
ส่าหรับอาหารข้นควรเสริมให้กินในตอนบ่าย กระต่ายที่ไม่ได้เสริมด้ยอาหารข้น ควรมีแร่ธาตุประกอบด้วย เกลือ กระดูกป่น และเปลือกหอยบดอย่างละเท่า ๆ กัน ผสมให้เข้ากัน ตั้งให้กินตามชอบ อาหารป่นที่แห้งอาจผสมน้ำเล็กน้อยพอชื้น เพื่อสะดวกใน การกินและจะช่วยมิให้ร่วงหล่นเสียห
าย
3. อาหารส่าเร็จรูป (Complete feed)

เกิดจากการนำอาหารข้นและอาหารหยาบมารวมกันในอัตราส่วนที่เหมาะสม มีสภาพเป็นผงหรืออัดเป็นเม็ด นำมาใช้เลี้ยงกระต่ายได้สะดวก กระต่ายที่เลี้ยงด้วยอาหาร สำเร็จรูปเพียงอย่างเดียวในปริมาณที่เพียงพอจะสามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็ว แต่ในการ เลี่ยงโดยทั่วไปนิยมเสริมหญ้าสด เพื่อลดต้นทุนและควรให้หญ้าหลังจากที่กระต่ายกินอาหาร สำเร็จรูปในปริมาณมากพอสมควร เพื่อให้กระต่ายได้รับสารอาหารที่จำเป็นอย่างเพียงพอ

1. โรงเรือน

ลักษณะของโรงเรือนที่ดีควรตั้งอยู่ในแนวทิศตะวันออกกับตะวันตก มีลวดตาข่ายล้อม รอบเพื่อป้องกันแมลงและสัตว์ ชี่งจะทำอันตรายและนำโรคมาสู่กระต่าย หลังคาของโรงเรือนจะ ต้องกันแดดและฝนได้ดี พื้นภายในโรงเรือนควรเป็นพื้นคอนกรีต เพื่อไม่ให้เปียกชื้นและทำ ความสะอาดได้ง่าย กรณีที่ผู้เลี้ยงมีพื้นที่ในบ้านหรือใต้ชายคาบ้านมากพอสมควร และกระต่าย ที่เลี้ยงมีจำนวนไม่มากนัก ก็อาจจะไม่จำเป็นต้องมีโรงเรือน
2. กรง
ขนาดของกรงขึ้นกับจำนวนกระต่าย ถ้าเป็นกรงเดี่ยวควรมีขนาดกว้าง 50-60 เชนติเมตร ยาว 60-90 เชนติเมตร สูง 45-60 เซนติเมตร ถ้าต้องการเลี้ยงกระต่ายหลายตัว อาจทำเป็นกรงตับและซ้อนกัน 2-3 ชั้น หรือถ้าจะขังหลายๆ ตัวรวมกัน กรงที่ใช้จะต้องใหญ่พอ ที่กระต่ายจะอยู่กันได์ไดยไม่หนาแน่นเกินไป วัสดุที่ใช้ทำกรงอาจใช้ไม้ระแนง หรือลวดตาข่าย ที่มีช่องกว้างประมาณ 1/2 - 3/4 นิ้ว ถ้าเป็นกรงส่าหรับแม่กระต่ายเลี้ยงลูก ลวดตาข่ายที่ใช้บุพื้น ควรมีช่องขนาด 1/2 นิ้ว เพื่อปัองกันขาของลูกกระต่ายติดในร่องของลวด ถ้าเลี้ยงกระต่ายไม่กี่ตัว อาจชื้อกรงส่าเร็จรูปที่มีขายตามร้านขายอุปกรณ์เลี้ยงสัตว์ทั่วไป แต่ต้องไม่ลืมว่ากรงที่ใช้จะต้อง มีขนาดใหญ่พอที่กระต่ายจะอยู่ได้อย่างสบาย และต้องแข็ง
แรงทนทาน มีอายุการใช้งานยาวนาน
3. อุปกรณ์การให้อาหาร

ควรใช้ถ้วยดินเผาขนาดเสนผ่าศูนย์กลาง 6 นิ้ว และมีน้ำหนักมาก พอที่กระต่ายจะ ไม่สามารถทำล้มได้ อาจใช้กล่องใส่อาหารที่ทำด้วยอลูมิเนียมเป็นรูปสี่เหลี่ยม หรือรูปครึ่ง วงกลมผูกแขวนติดกับข้างกรง ถ้าเป็นกระต่ายขุน อาจใช้กล่องอาหารอัตโนมัติเพื่อที่กระต่าย จะได้กินอาหารตลอดทั้งวัน
4. อุปกรณ์การให้น้ำ

มีหลายแบบด้วยกัน เช่น ถ้วยดินเผาใส่น้ำ แต่มีข้อเสียคือ กระต่ายอาจถ่ายมูลหรือ ปัสสาวะลงในถ้วยทำให้สกปรกได้ หรืออาจใช้ขวดอุดด้วยจุกยาง ซึ่งมีรูส่าหรับสอดท่อทองแดง วิธีใช้ให้นำขวดไปเติมน้ำจนเกือบเต็มขวดแล้วคว่ำขวดแขวนที่ข้างกรงกระต่ายให้ปลายท่อ ทองแดงสูงระดับที่กระต่ายกินน้ำได้สะดวก ควรตัดท่อทองแดงให้โค้งพอเหมาะ น้ำจึงจะไหล ได้ดีถ้าเลี้ยงกระต่ายเป็นจำนวนมาก ๆ อาจใช้อุปกรณ์ไห้น้ำแบบอัตโนมัติก็ได้ เพื่อประหยัด แรงงานและอุปกรณ์ แต่ค่าไซ้จ่ายค่อนข้างสูง
5. รังคลอด

ควรมีขนาดกว้างพอที่แม่กระต่ายและลูกกระต่ายอยู่ได้อย่างสบาย โดยทั่วไป รังคลอดควรมีขนาดกว้าง 30 เชนติเมตร ยาว 40 เชนติเมตร สูง 15 เซนติเมตร พื้นรัง- คลอดบุด้วยลวดตาข่ายขนาด 1/2 นิ้ว หรือใช้ไม้ตีปิดพื้นให้ทึบ ปูพื้นด้วยฟางหรือหญ้าแห้ง
การทำความสะอาดโรงเรือนและกรงควรทำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง เพี่อลดกลิ่นเหม็นที่เกิดจากมูลกระต่าย ส่วนภาชนะใส่น้ำและอาหารควรล้างทำความสะอาด อย่าง. กระต่ายกินน้ำตายจริงหรือไม่ ?
ปกติแล้วกระต่ายเป็นสัตว์ที่มีความต้องการน้ำเช่นเดียวกับสัตว์ชนิดอื้น ๆ ถ้ากระต่ายได้รับ น้ำน้อย จะทำให้เติบโตช้า แต่การที่คนส่วนใหญ่เห็นว่ากระต่ายที่เลี้ยงกันนั้นไม่ได์ไห้น้ำเลยให้แต่ผัก หญ้า ก็ยังเห็นกระต่ายปกติดี เนื่องจากว่าในผักและหญ้านั้นมีน้ำมากเพียงพอที่จะทำให้กระต่าย มีชีวิตอยู่ได้ แต่ถ้าให้น้ำเพิ่มด้วยจะทำให้กระต่ายเติบโตเร็วยิ่งขึ้น การที่กระต่ายกินน้ำแล้วตาย อาจเนื่องมางากภาธนะที่ใส่น้ำเป็นชามที่กระต่ายสามารถทำล้มได้ง่ายทำให้น้ำหกเจิ่งนองพื้น ซึ่งจะทำให้กระต่ายเป็นหวัดหรือปอดบวม และมีโรคอื่น ๆ แทรกช้อนจนทำให้ตายได้
2. จับท้องกระต่ายจะทำให้กระต่ายตายจริงหรือไม่ ?
การจับกระต่ายที่ถูกวิธีและทำด้วยความนุ่มนวลโอกาสที่กระต่ายจะตายนั้นมีน้อยมาก แต่สัญชาติญาณของกระต่ายเมื่อโดนจับบริเวณท้องมันก็จะดิ้น คนที่จับไม่เป็นหรือไม่รู์โดยเฉพาะ เด็ก ๆ เมื้อเห็นมันดิ้นก็จะยิ่งจับหรือบีบให้แน่นยิ่งขื้นเพราะกลัวว่ากระต่ายจะหลุดจากมือ ทำให้อวัยวะภายใน ด้รับอันตรายจนกระทั่งกระต่ายช๊อคตายได้
3. ทำใมกระต่ายสีขาวจะมีตาสีแดง?
การที่กระต่ายจะมีตาสีอะไรขี้นกับเม็ดสี(Pigment) ที่อยู่ในตา แต่ในกระต่ายสีขาวเช่น พันธุ์นิวซีแลนด์ไวท์หรือแคลลิฟอร์เนียน ไม่มีเม็ดสี ทำให้เห็นเส้นเลือดสีแดงในตาซึ่งจะ สะท้อนแสงให้เราเห็นตากระต่ายเป็นสีแดง ส่วนในกระต่ายพันธุ์พื้นเมืองนั้นมีตาสีดำ เุนื่องจากมันมีเม็ดสีเุป็นสีดำในตานั่นเอง
4. กระต่ายเป็นสัตว์ทื่จัดอยูในกลุ่มสัตว์ฟันแทะเช่นเดียวกับหนูใช่หรือไม่ ?
แต่ก่อนนักสัตววิทยาได้จัดให้กระต่ายอยู่ในกลุ่มสัตว์ฟันแทะเช่นเดียวกับหนู ต่อมาได้พบว่ากระต่ายกับหนูนั้นมีข้อแตกต่างกันที่กระต่ายมีฟันตัดหน้าบน 4 ชี่ ส่วนหนู มีเพียง 2 ชี่ ทำให้มีการจัดกลุ่มใหม่ โดยให้กระต่ายอยู่ในอันดับกระต่าย (Order Lagomorpha) และหนูจัดอยู่ในอันดับสัตว์ฟันแทะ (Order Rodentia)
5. ทำไมช่วงที่อากาศร้อนจัด ๆ กระต่ายถืงปช็อคตาย ?
เนื่องจากกระต่ายเป็นสัตว์ที่ไม่มีต่อมเหงื่อ ทำให้การระบายความร้อนเป็นไปได้ยาก ในช่วงที่อากาศร้อน ๆ กระต่ายจะหายใจถี่ขึ้น โดยสังเกตุที่จมูกจะ สั่นเร็วขึ้น และมีการ ระบายความร้อนที่เส้นเลือดแดงใหญ่กลางหูมากขึ้น แต่ก็ยังระบายความร้อนไม่ทันทำให้ อุณหภูมิในร่างกายสูงมากจนถึงขั้นทำให้ช๊อคตายได้
ข้อมูล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น